1. Core Principle and Concept of ThaiHIS

  1. ที่ www.thaihis.org นั้น มี HIS ตัวตั้งต้นให้ Clone เพื่อนำไปปรับแต่งหรือพัฒนาเพิ่มเติมเองให้เข้ากับบริบทและความต้องการของหน่วยงาน ทั้งนี้ ต้องไม่ใช้เว็บไซต์นี้ เพื่อการเก็บข้อมูลผู้ป่วยจริง แต่ให้ใช้เพียงเพื่อการทดลองในการพัฒนาระบบเท่านั้น โดยสามารถใช้รหัสบัตรประชาชน 13 หลักจากการสุ่มได้ที่ http://www.kzynet.com/tools/thai_citizen_id_generator
  2. ผู้สร้าง HIS ใน www.thaihis.org จะได้ URL ตามที่ระบุในขั้นตอนการสร้าง และถือเป็น Admin ของ HIS ใน URL นั้น ทั้งนี้ สามารถเข้าถึงสิทธิ์ระดับ Super Admin เพื่อสามารถเข้าถึง และแก้ไขระบบทั้งหมดใน URL นั้นได้ การสร้างตามนี้เป็นการโคลนจาก Template จึงได้ database ที่แยกออกอย่างเป็นอิสระจาก www.thaihis.org กล่าวคือสามารถแก้ไขได้โดยไม่มีผลกระทบต่อระบบกลาง และไม่มีใครเข้าถึงได้หากผู้สร้างไม่อนุญาต 
  3. HIS ตั้งต้น (Template) มีทั้งแบบสำหรับการอบรม และแบบที่ได้จากผู้สร้างแชร์เป็นต้นแบบ บางต้นแบบไม่มีค่าใช้จ่าย แต่บางต้นแบบอาจมีค่าใช้จ่าย (นักพัฒนาทำเพื่อจำหน่าย) ขึ้นอยู่กับผู้แชร์ต้นแบบ
  4. การสร้าง หรือปรับปรุงแก้ไขโมดูลต่างๆ ใน HIS นั้น ทำได้โดยใช้ Common HIS Builder แล้วได้ Module เป็น User interface ของทุกงานในโรงพยาบาล 
  5. จากการที่ Workflow ของโรงพยาบาล มีลักษณะร่วม จึงมีโมดูลจำนวนหนึ่งเป็น Core Module ที่ผู้สร้าง HIS สามารถนำมาปรับแต่งให้เข้ากับบริบทโรงพยาบาลตนเองได้
  6. ด้วยการเรียนรู้จากหลักสูตรที่มีให้เป็นระยะ หรือทดลองทำไปเรียนรู้ไปจากต้นแบบ ก็จะเกิดความเชี่ยวชาญในการใช้ Common HIS Builder และจะสามารถสร้างโมดูลอื่นๆ ของ HIS เพิ่มได้เองอีกจำนวนมาก ตามที่ต้องการ โดยไม่ต้องพึ่งพาโปรแกรมเมอร์ 
  7. หาก Common HIS Builder ที่มีนั้น ไม่สอดคล้องความต้องการ ผู้สร้างสามารถ request กับ ThaiHIS Developers ที่ DAMASAC ได้ ทีมดังกล่าวจะสร้าง Tools หรือ พัฒนา Core function เพิ่มเติมให้ จากนั้น user อื่นก็ร่วมใช้งาน Tools ใหม่ได้
  8. ใน HIS นั้น มีรหัส ID ที่สำคัญ คือ HN (Hospital Number), VN (Visit Number)/SEQ (Sequence Number), และ AN (Admission Number) 
  9. การบันทึกขัอมูลใดๆ เกี่ยวกับการให้บริการ ต้องอ้างอิง ID รหัสใดรหัสหนึ่งหรือหลายรหัสร่วมกัน แล้วแต่กรณี
  10. การเชื่อมโยง Form เพื่อเกิด WorkFlow สามารถใช้ EzFlow หรือเครื่องมือใน EzForm ต่อไปนี้
    • ใช้ Joiner ใน EzForm -> ต้องรู้ Key ID สามารถอ้างอิงข้อมูลระดับ Data Item ไปใช้ในอีกฟอร์มได้ (การ Reference field)
    • ใช้ข้อมูลจากอีกฟอร์มเป็น Drop down list รูปแบบต่างๆ ในอีกฟอร์ม รวมทั้ง Dependent drop down list ที่รองรับความซับซ้อนได้ 
    • ใช้ Staple ใน EzForm -> ไม่ต้องรู้ KeyID แต่รู้ Staple Name ตั้งชื่อให้สื่อความหมายงาน ก็พ่วงฟอร์มไปกับงานนั้นๆ ได้เลย 
  11. ใน EzForm สามารถตั้งค่าต่างๆ เป็นค่าเริ่มต้น (Initial data) และสามารถเขียน code (JavaScripts หรือ SQL) เสริม บางงานที่ไม่ซับซ้อน จึงสามารถทำสำเร็จได้เพียงใช้ EzForm
  12. EzFlow เป็นทั้งเครื่องมือสำหรับการวางแผน การออกแบบ การสื่อสารระหว่าง Designer กับ Programmer การสร้างโปรแกรมให้ทำงานได้ตามที่ออกแบบนั้น การทดสอบโดย Tester การติดตามกระบวนการพัฒนาโดย Project Administrator การติดตาม Flow ของงานเมื่อถูกใช้โดย User และการพัฒนาระบบงานให้เกิดประสิทธิภาพโดย Flow Optimizer ดังนั้น EzFlow จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ระบบถูกมองเห็นอย่างทะลุปรุโปร่ง (Absolute visibility and traceability) 
  13. EzModule และ EzWorkBench เป็น User Interface ของระบบสารสนเทศโรงพยาบาล 
  14. Super Administrator มีเครื่องมือจัดการหน่วยงาน จัดการสมาชิก และจัดสิทธิ์การเข้าถึงโมดูลต่างๆ  

2. ข้อควรทราบ-ข้อตกลง

  1. RAD Tools (Rapid Application Development Tools) เป็นเครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบต่างๆ ประกอบด้วย
    • EzInput: เป็นประเภทคำถามใน EzForm เช่น Text, Checkbox, Dropdown list, ICD-10, etc.
    • EzForm: เป็นที่สร้างฟอร์ม ทั้งแบบแยก หรือแบบเชื่อมโยงกันข้ามฟอร์ม ยังผลให้สามารถใช้เพียง EzForm สร้างโปรแกรมใช้งานที่ซับซ้อนได้ เบ็ดเสร็จได้เพียง EzForm
    • EzProcess นำ EzForm มาร้อยเรียงเป็น Workflow ที่สามารถเห็นการไหลของงาน ตามที่ออกแบบตามนโยบายหรือ SOP: Standard Operating Procedure ของระบบงานต่างๆ EzProcess เป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาเสริมให้การพัฒนาระบบ HIS ให้มีมิติของ Flow กล่าวคือเห็น เข้าใจกระบวนการทำงาน และติดตามงานได้ ระบบการพัฒนา เริ่มจากการสร้างฟอร์ม โดยต้องสร้างฟอร์มจาก Template สำหรับใช้ใน EzProcess เพราะต้องเกี่ยวท้ายกัน มีการส่ง parameter ที่จำเป็น ต่อเนื่องกันเป็นทอดๆ ทำให้ EzForm ที่สร้างจาก Template ดังกล่าว ทั้งสามารถใช้ใน EzProcess และใน EzWidget และ EzModule ได้จึงสามารถนำมาพัฒนาเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ว่าจำเป็นมาก ได้แก่ สร้างและใช้ซึ่ง Treatment protocol, Nursing Care Plan, รวมทั้งทุกงานที่มีขั้นตอนการทำงานตายตัว เช่นงาน backend ทั้งหลาย 
    • EzFlow เป็นช่องทางให้โปรแกรมเมอร์เขียน Background process โดยไม่ต้องเขียน code ลงใน system path ของวอฟต์แวร์ จากการที่ภายในแต่ละ Node มีเครื่องมือเป็นกล่องๆ เพื่อกำกับการใส่รหัสซอฟต์แวร์ หรือ Code ด้วยการนี้ Code ทุกอย่างที่ทำให้เกิด Application จึงอยู่ใน Database โดยไม่ฝังในระบบ จึงเรียกดู แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ง่าย จึงเกิดคุณลักษณะ Visible, Repeatable, Editable, Verifyable, Testable, and Traceable 
    • EzModule นำ EzForm และ/หรือ EzFlow มารวมเป็น Application กล่าวคือเป็น User interface ที่สามาถจัดสิทธิ์การเข้าถึง รวมทั้งปรับแก้ interface ตามบทบาทหน้าที่ของผู้ใช้งานด้วย  
    • EzWidget เป็นเครื่องมือสร้าง User Interface และเรียกใช้ EzFlow ให้ใช้งานใน EzModule ในรูปแบบที่ user ต้องการ 
  2. Common HIS Builder: เป็นระบบที่ DAMASAC ซึ่งเป็นศูนย์บริการวิชาการของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำ RAD Tools จากข้อ 1 มาพัฒนาเป็นเครื่องมือสร้าง HIS โดยที่การพัฒนา HIS ของโรงพยาบาลของท่าน สามารถทำได้ที่ www.thaihis.org 
  3. Free for DIY: หากทำเองทั้งหมด ย่อมไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ แต่หากขอรับการสนับสนุนจาก ThaiHIS Developers รวมทั้งการเป็นเจ้าของ User License ของ Common HIS Builder นั้น ให้เป็นไปตาม TOR ที่ตกลงกันเป็นกรณีไป  
  4. *User-generated HIS at Local Server: เมื่อพร้อมใช้งาน ให้ Download HIS ที่สร้างนั้น ลงมาติดตั้งที่เครื่อง Local Server ของโรงพยาบาล แล้วใช้งานได้เลย โดยอิสระ เพราะเป็นระบบที่ทำงานแยกขาดจาก ThaiHIS โดยไม่มีการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตใดๆ ทั้งสิ้น
  5. *Operating locally- Updating centrally: เพื่อรับการ update ระบบโดยอัตโนมัติได้ฟรี และปลอด error นั้น การแก้ไขหรือพัฒนาระบบใดๆ เพิ่มเติม ให้ทำผ่าน www.thaihis.org จากนั้น ดาวน์โหลด เก็บเป็นไฟล์ ไป update ของตนเองแบบ manual และทำแบบ offline
  6. *Data kept locally, securely and confidentially: ข้อมูลทั้งหมดของโรงพยาบาล อยู่ที่ server ของโรงพยาบาล การส่งออกข้อมูลเพื่อการใดๆ ล้วนอยู่ในการควบคุมของโรงพยาบาล และทีมพัฒนา ThaiHIS ไม่สามารถเข้าถึง HIS ของ User ได้เว้นแต่ได้รับอนุญาต ภายใต้ MOU 
  7. *Share as a blank HIS template for free to others after well-operated: ทุกโรงพยาบาลที่ทำเอง โดยใช้ระบบ  www.thaihis.org นั้น ต้องแชร์เป็น HIS Template อย่างช้า 1 ปีหลังจากเริ่มใช้งาน เพื่อโรงพยาบาลอื่นๆ สามารถ clone ไปใช้งานได้ฟรี
  8. * App Store for special Modules: โมดูลเสริม ที่พัฒนาโดย HealthTech Developers ใดๆ อาจมีค่าใช้จ่ายหรือไม่ก็ได้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้พัฒนา โดยที่  www.thaihis.org นั้น ทำหน้าที่เสมือน App Store
  9. * ThaiHIS มุ่งให้ผู้ใช้ สร้าง HIS บนเว็ป แล้วดาวน์โหลดลงติดตั้งบน Local Server ของตน โดยไม่มีการเก็บข้อมูลผู้ป่วยใดๆ บนอินเตอร์เน็ต ดังนั้นหากมีข้อมูลผู้ป่วยบนอินเตอร์เน็ต จึงถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ดูแล HIS นั้นๆ 

* อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนา 


3. ทำไมต้องเป็น Web-based HIS 

ข้อดี Web-based HIS เมื่อเปรียบเทียบกับ Window-based desktop HIS 

  1. HIS บน Windows-based หรือ desktop application เป็น native programming แม้ผู้พัฒนามอบ database และ software code มาหมดสิ้น ก็ยากจะพัฒนาต่อไปได้ เพราะต้องทำโดยโปรแกรมเมอร์ที่มีประสบการณ์ และต่างคนก็ต่างลีลาการเขียนโปรแกรม
  1. การ update ของ HIS บน Windows-based ต้องทำทุกเครื่องที่ใช้งาน ขณะที่ Web-based ทำที่เดียวได้ทุกที่
  1. HIS บน Windows-based ต้องติดตั้ง Windows ที่ต้องมี license ทุกเครื่องที่ใช้ระบบ ไม่เช่นนั้นก็ผิดกฏหมายขณะที่ Web-based ใช้ OS อะไรก็ได้ การลงทุนด้าน hardware และ software จึงต่ำ เพราะเครื่องใช้งาน (client PC) สามารถติดตั้งเพียง Linux กับ Chrome browser ก็ใช้งานได้ ซึ่งฟรีทั้งคู่
  1. ThaiHIS พัฒนาบน Hypertext Transfer Protocol over Secured Socket Layer ทำงานได้กับทุก Browser โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม HIS ลงในเครื่องของผู้ใช้งาน (client)
  1. ThaiHIS มีเครื่องมือให้สร้าง HIS ที่ทุก database มีที่มาคือ EzForm ที่มีระบบการเชื่อมฟอร์มเป็น Workflow จึงง่ายต่อการทำความเข้าใจระบบ และพัฒนาต่อยอดได้เองโดย user ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ แต่หากมีทักษะ HTML/CSS and JavaScript ก็จะสามารถดูแลระบบได้เกือบสมบูรณ์แบบ
  1. Webbased HIS ไม่ต้องติดตั้ง Software ในเครื่องที่ user ใช้เพียงติดตั้งระบบที่ Server เครื่องเดียว จากนั้นผู้ใช้งาน เข้าใช้จากเครื่องอื่นๆ เพียงแค่รู้ URL ก็สามารถ Login เข้าใช้งานได้ ตามสิทธิ์ ผ่าน web browser
  1. Webbased HIS จัดการ hardware ได้ดีกว่า หากมี workload หรือ transaction มากขึ้น ก็จัดการ server ให้รองรับได้ง่ายเช่น cluster, load balancing, หรือ openstack เป็นต้น เช่น Google นั้น run บน server หลายพันเครื่อง หากเครื่องหนึ่งล่ม เครื่องอื่นถูกดึงเข้าทำงานแทน โดยที่ไม่กระตุก
  1. การ update หรือการพัฒนาเครื่องมือเสริม หรือเปลี่ยนแปลง user interface ใดๆ สามารถทำที่ server ที่เดียว ง่าย และเร็ว
  1. Customize looks and feel ของหน้าเว็ปใช้งานได้ตามความต้องการ (ซ่อน แสดง ปรับแต่งสี ภาพ ตามที่ตนชอบและทำงานง่ายที่สุด)
  1. รอบของการ update ง่ายและถี่ขึ้นได้
  1. รองรับ mobile device ทำงานได้ ทุกที่ ทุกเวลา ในแบบ real time (accessible anytime, anywhere, and in real time manner, via any PC or any mobile devices with an Internet connection)
  1. ระบบแจ้งเตือน real time เตือนแล้ว Action ได้ทันที
  1. รองรับ mobile applications, Internet-of-things (IoT), AI, etc. จาก health teach startup ต่างๆ พัฒนาขึ้นในอนาคต ซึ่งอาจ disrupt วงการสุขภาพในอนาคตอันใกล้ได้
  1. Borderless: รองรับ Pre-hospital, Intra-hospital, Inter-hospital, และ Home care ได้
  1. รองรับการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่จาก Machine learning, Data mining, Artificial Intelligence (AI) และบูรณาการเข้า HIS ตนได้ในอนาคต 
  1. รองรับการ engage ผู้ป่วย เข้าระบบสมาชิก ทำให้เกิดระบบ Customer Relationship Management (CRM) ได้ง่าย และนำไปสู่ Health literacy ในอนาคต
  1. เมื่อเครือข่าย 5G ถูกนำมาใช้ ความเร็วและจำนวน node ที่มากขึ้นนั้น จะทำให้ Web-application กลายเป็น standard ไปโดยง่าย ด้วยค่าใช้จ่ายที่ลดลงแต่งานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
  1. การมี 5G + National ID + Blockchain technology  เป็นไปได้สูงมาก ที่ HIS อยู่บน cloud ทั้งหมด ตามมาด้วย Wifi Satellite ที่่องค์กร IT ระดับโลก กำลังทำให้สัญญาณไวไฟกำลังสูง ถึงทุกหย่อมหญ้า -> ลด cost, เกิด data sharing, เกิด AI มากมาย -> improve care and reduce cost
  1. Webbased HIS เท่านั้นที่จะพัฒนาให้รองรับ HL7 FHIR ได้ เพราะใช้มาตรฐาน web-based เนื่องจากต้องส่งออก และรับกลับมา operate ต่อในรูป XML, JASON. etc. ยังผลให้สามารถทำงานร่วมกับระบบ HIS อื่นๆ ได้ -> interoperability
  1. เมื่อ ThaiHIS สามารถใช้บน mobile device ได้ จึงสามารถใช้ Voice command, Touch screen, Camera, Microphone, GIS, vibration ทำให้ใช้ HIS ได้มากขึ้น เช่นบันทึกภาพ เสียง หรือ VDO ลงใน HIS Database ได้ทันที
  1. ในอนาคต สามารถใช้ Speech to text ได้ รวมทั้ง library สากลต่างๆ ที่จะมีตามมาในอนาคต ได้ง่าย
  1. สามารถ Implement national หรือ standard guidelines ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับ Health IT ได้ง่าย เช่น ราชวิทยาลัย implement CPG (Clinical Practice Guidelines) โดยสร้างหรือปรับแก้ที่เดียวแล้วส่งผลไปทุก รพ. ได้ หรือหน่วยงานด้านการบริหาร หรือการเงิน สามารถ implement แนวทางปฏิบัติในรูปโมดูล แล้วทุกที่เข้ามาทำงานได้มาตรฐานเดียวกันในทันที่ที่ activate หรือ update
  1. ThaiHIS ได้รับการออกแบบเพื่อ Self-reliance, Long term and continuously development and sustainability ผ่านการมี user community, resource sharing, และเพียง user ที่สามารถใช้ HTML/CSS and JavaScript ได้ ก็นำ Template ไปปรับแต่งใช้เองฟรีๆ โดยไม่ผูกขาดโดยกลุ่มทุนใด

4. ทำไมต้องเป็น User editable HIS without any hard codings 

ข้อดีเมื่อเปรียบเทียบกับระบบปิดที่รหัสซอฟต์แวร์อยู่ในมือนักพัฒนาเพียงกลุ่มเดียว   

  1. Edit form input: HIS ล้วนเริ่มจากหน้าบันทึกข้อมูล เพื่อให้ user ทำงาน จึงมีฟอร์มจำนวนมาก เมื่อ ThaiHIS มีเครื่องมือ EzForm ให้ user สร้างหรือแก้ไขฟอร์มได้เอง นอกจากจะทำให้ได้หน้าบันทึกข้อมูลอย่างที่ต้องการแล้ว ยังใช้ระยะเวลาในการพัฒนาสั้นกว่า ที่สำคัญคือ การที่ user สามารถแก้ไขได้เอง จึงสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงความต้องการ หรือพัฒนาการที่มีอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องมีคอขวดที่ developer
  2. Edit programming code: ผู้ใช้สามารถสร้าง แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงที่ programming code ได้เลย ด้วยการที่ชุดคำสั่งซึ่งโดยปกติ programmer จะเขียนฝังลงในระบบนั้น ได้ถูกจัดช่องทางอย่างเป็นระบบให้เขียนลงในช่องว่างหรือช่องทางที่กำหนด และเขียนเฉพาะคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการไหลของฟอร์ม ตาราง และข้อมูล เขียนลงใน EzFlow Creator จากนั้น code เหล่านั้นถูกจัดเก็บใน database โดยที่ EzFlow จะไปเรียกใช้ กล่าวคือ EzFlow ได้ดูดซับเอาความซับซ้อนของ programing หลักๆ ไว้ จึงยังผลให้
    • การพัฒนาง่ายขึ้น เพราะไม่มีประเด็น Programming syntax เป็นอุปสรรค
    • User ระดับที่ไม่เป็น programmer เลย แต่มีตรรกะที่ดี หรือรู้ระบบงานดี สามารถศึกษาจากตัวอย่าง copy and development ได้ จึงสามารถสร้างสิ่งใหม่ที่มี workflow คล้ายที่มีอยู่เดิม แก้ของเดิมที่ต้องการเปลี่ยน หรือที่มีปัญหาได้เอง หรือออกแบบ workflow เองจากนั้นขอให้ programmer ช่วยทำตาม workflow ที่ออกแบบไว้นั้น
    • User ระดับ new programmer ก็สามารถเรียนรู้ และได้รูปแบบการเขียนโปรแกรมที่เป็นระบบ ดูแล code ที่คนอื่นเขียนไว้เดิม ต่อยอดได้ง่าย
    • User ระดับ senior programmer อาจรู้สึกฝืนกับแนวทางใหม่ แต่ต่อไปจะสบาย เพราะอะไรๆ ก็ไม่ต้องขึ้นอยู่กับตนอีกต่อไป (ขอโทษนะ)   
    • เข้าใจง่าย เพราะการเขียนโปรแกรมเป็น pattern เดียวกัน อันเป็นผลจากการเติม code โปรแกรมลงในช่องที่กำหนดเท่านั้น
    • กรณีเกิดปัญหาก็ Debug ได้ง่าย กระทั่งว่าหากยุ่งยากก็ลบทิ้งทั้งหมด สร้างใหม่ได้ง่าย เพราะ workflow diagram ยังคงอยู่กำกับการพัฒนา 
    • ทำให้คนจำนวนมาก จากหลากหลายทักษะ หลายสาขาความเชี่ยวชาญ มาร่วมกันทำงานได้ โดยแบ่งกันพัฒนาเป็น workflow ย่อยๆ ทำไปพร้อมๆ กันได้ บ้างรับ user requirements แล้วร่าง Flow diagram บ้างออกแบบระบบในระดับสร้างฟอร์ม (Table) ตัวแปร (Field) ตามด้วยออกแบบ Flow และ Node ของ Flow เพื่อส่งไม้ต่อให้ programmer จากนั้น Tester มารับช่วงต่อ ก่อน deploy ให้ Admin approve ให้เปิดใช้งาน เป็นต้น   

HIS มีผลกระทบต่อชีวิตคน จึงสำคัญเกินกว่าที่จะยินยอมให้เกิดภาวะ "ไม่มีใครทำแทนนักพัฒนาคนเดิมได้" 


5. แนวทางให้มีการพัฒนาเครื่องมืออันทรงค่าเหล่านี้อยู่รับใช้สังคมอย่างยั่งยืน 

5.1) กรณีใช้งาน ThaiHIS ตามที่กล่าวในข้อ 2 กล่าวคือพัฒนาบนเว็บของ ThaiHIS แล้วนำลงไปติดตั้งใน Server ส่วนตัวโดยมีรหัสโปรแกรมทุกอย่างยกเว้น HIS Builder นั้น สามารถใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรืออาจบริจาคตามสมัครใจ อย่างไรก็ตามอาจไม่สะดวกเพราะการปรับแต่งระบบนั้นต้องทำที่ ThaiHIS แล้วจึง download ลงไป update ใน local server (บริการสาธารณะตามรูปแบบนี้ อยู่ระหว่างพัฒนา)

5.2) กรณีโรงพยาบาลหรือคลินิกใด ต้องการระบบ HIS ที่ใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ต มี URL เฉพาะเป็นการส่วนตัว และเก็บข้อมูลทั้งหมดใน Cloud database server ที่จัดให้เป็นการเฉพาะ โดยไม่ต้องมีภาระดูแล server เองนั้น บริการนี้มีค่าใช้จ่ายเป็นค่าสมาชิกรายเดือน  (Cloud solution อยู่ระหว่างพัฒนา)

5.3) กรณีโรงพยาบาลใด ต้องการ source code ทั้งหมดของ ThaiHIS ติดตั้งที่ Server ส่วนตัว หรือต้องการให้ Developer ของ ThaiHIS ไปพัฒนา HIS ให้เป็นการเฉพาะนั้น มักเกิดภาระงานที่มากและทำงานร่วมกันยาวนาน ดังนั้นจึงต้องทำงานผ่านระบบการจ้างตามระเบียบที่มีอยู่ปัจจุบันตามปกติ ในการนี้ เพื่อให้เข้าใจภาพรวมร่วมกัน ต่อไปนี้คือข้อความที่สำคัญส่วนหนึ่งใน Terms of References (TOR) 

ข้อความใน TOR การพัฒนาระบบระบบโปรแกรมโรงพยาบาล (HIS) 1 ระบบ โดยมีขอบเขตงานดังนี้ 

  1. เป็นเว็บแอพพลิเคชั่นหรือทำงานลักษณะเดียวกันกับวินโดส์แอพพลิเคชั่นโดยประสิทธิภาพไม่ด้อยกว่า

  2. มีฟังก์ชั่นงานพื้นฐานที่ผู้ใช้งานสามารถใช้พัฒนาระบบด้วยตนเอง ดังนี้

    1. มีเครื่องมือสร้างฟอร์มบันทึกข้อมูล ที่ผู้ใช้สร้างและปรับแต่งหน้าบันทึกข้อมูลได้เอง

    2. มีเครื่องมือนำฟอร์มมาสร้างเป็นผังงานหรือเส้นทางไหลเวียนของข้อมูล และสามารถจัดให้ฟอร์มอยู่เป็นหมวดหมู่ เป็นโมดูลย่อย

    3. มีโมดูลที่ออกแบบไว้ล่วงหน้า เพื่อให้บุคลากรองค์กร ใช้ตั้งค่าระบบการทำงานของหน่วยงานย่อยที่ตนสังกัด

    4. มีโมดูลที่รวบรวมงานในความรับผิดชอบของสมาชิกหลังจาก Login เข้าทำงานในระบบ มาแสดงเป็นหมวดหมู่

    5. ทะเบียนผู้ป่วยสามารถเชื่อมต่อกับระบบสำหรับงานวิจัยได้

    6. มีอย่างน้อย ?? ระบบงาน โดยต้องมีคุณลักษณะเฉพาะตามรายละเอียดตามเอกสารหมายเลข ?

  3. มีระบบการถ่ายโอนข้อมูลที่จำเป็นจากระบบฐานข้อมูลของระบบเก่าเข้าสู่ระบบ HIS ใหม่ (Data Migration) ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับ Structure ของฐานข้อมูล HIS ระบบใหม่

  4. ลิขสิทธ์โปรแกรมส่วนที่พัฒนาระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ?? ระบบงานเป็นของโรงพยาบาล??? ทั้งนี้ไม่รวมในส่วนที่เป็น Third party applications ได้แก่ Builder Tools และ Core Functions เนื่องจากเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทผู้พัฒนาที่มีมาก่อนหน้านี้ อันประกอบด้วย

    1. Core Builders: EzForm, EzModule, EzWidget, EzProcess, EzFlow, EzBuilder (ลิขสิทธิ์ของ DAMASAC คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

    2. Third-party application อื่นๆ ได้แก่ 

      1. Froala HTML Editor (ลิขสิทธิ์ของบริษัท Froala Labs SRL)

      2. GoJS (ลิขสิทธิ์ของบริษัท Northwoods Software)

      3. AG Grid  (ลิขสิทธิ์ของบริษัท AG Grid Ltd.) 

  5. ผู้ว่าจ้างได้รับสิทธิ์ใช้งาน 2 Licenses ของ Core Builders โดยไม่มีวันหมดอายุ ทั้งนี้ จะติดตั้งบน Server 2 เครื่องของโรงพยาบาล เครื่องหนึ่งสำหรับการใช้งานปกติ และอีกเครื่องสำหรับการพัฒนา การทดลอง หรือการอบรม เว้นแต่จะมีข้อตกลงอื่นๆ เป็นกรณีไป